เมล็ดพันธุ์ผักตำลึง

เมล็ดพันธุ์ผักตำลึง อินทรีย์

ราคา 20.00 ฿

ปลูกง่าย สามารถปลูกได้ทุกฤดู

อัตราการงอกของเมล็ดอยู่ที่ 80 – 90 %

จำหน่ายราคาถูก 80-100 เมล็ด : 20 บาท

เมล็ดพันธุ์ผักตำลึงสามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อไปได้

ไม่มีขั้นต่ำในการสั่งซื้อ เท่าไหร่ก็ส่งให้ได้ค่ะ

ส่งไปรษณีย์ EMS 40 บาท /  1 – 2 วันถึงมือเลยค่ะ ส่งธรรมดา

ลงทะเบียน 25 บาท /  3 – 4 วันถึงมือเลยค่ะ

มีบริการเก็บเงินปลายทางส่งแบบ EMS ค่าจัดส่ง 50 บาทค่ะ

สั่งซื้อหลายอย่างสามารถรวมส่งได้ค่ะ

( ถ้าสั่งซื้อครบ 20 ชนิดขึ้นไป ส่ง EMS ให้ฟรีค่ะ)

ติดต่อสอบถาม / สั่งซื้อได้ทาง โทร 093-2390344 
ทางไลน์ LIND ID : f.jayjay
หรือ Add line ง่ายๆ แค่กด f.jayjay
สแกนคิวอาร์โค้ดสั่งซื้อสินค้า
ฝากกดติดตาม/หรือกดถูกใจเพจ Facebook สองพี่น้องอินทรีย์ฟาร์ม ของเราด้วยนะคะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

เมล็ดผักตำลึง

เมล็ดผักตำลึงของเราคัดสรรเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ อัตราการงอกสูง เมล็ดผักตำลึงที่มีความสมบูรณ์ของเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์สามารถนำไปปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกต่อได้ เพราะทางเราไม่ได้สกัดสายพันธุ์ เป็นเมล็ดผักตำลึงพื้นบ้านที่ปลูกต่อๆกันมา

คุณสมบัติเด่น

ตำลึงเป็นผักพื้นบ้านหากินได้ทุกหัวระแหง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นตำลึงขึ้นพันไม้อื่นหรือไม่ก็ขึ้นตามริมรั้วจะเรียกผักริมรั้วก็คงไม่ผิด ปกติบ้านใครมีที่มีทางก็แทบไม่ต้องซื้อหาให้เปลือง แต่ถ้าอยู่ในเมืองลองไปเมียงๆมองๆแถวตลาดสดหรือตลาดติดแอร์ดูเถอะ รับรองไม่ผิดหวัง ตำลึงมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก และที่เห็นจะถูกใจคนรักสุขภาพแน่ ๆ ก็คือ ตำลึงมีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้ยังให้แคลเซียมอีกด้วย ส่วนใครที่มีปัญหาขับถ่าย น่าลองมารับประทานดู เพราะตำลึงมีกากใยที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี

การปลูกและการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดผักตำลึง

มีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้

  • เตรียมดินเหมือนปลูกผักทั่วไปผสมปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอกก็ได้ นำ โรยเมล็ดผักตำลึงบนดินที่เตรียมไว้ โรยดินกลบหรือ ใช้ใบไม้แห้งกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงชอบดินชุ่มแต่อย่าให้แฉะ เพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้
  • เมื่อต้นงอกออกมาจากเมล็ดตำลึงขึ้นมาสักประมาณ 5 ซม. เริ่มมีมือเกาะให้ทำค้าง(เนื่องจากตำลึงเป็นไม้เลื้อย จำเป็นต้องใช้ค้าง เพื่อให้ตำลึงไต่ขึ้นสู่ที่สูงเพื่อ รับแสงแดด ) เหมาะที่สุดคือ ความสูงระดับ 1 เมตรขึ้นไป แต่ไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร เพราะจะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง โดยใช้ไม้ไผ่ต้นเล็ก 3 ต้น ปัก เป็น 3 เส้า รอบปลายเชือกเข้าไว้ด้วยกัน ผูกด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกปอ ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง หรือหากมีรั้วไม้ระแนง ก็ถือโอกาสใช้ประโยชน์โดยโรยเมล็ดไปตามริมรั้วเลยทีเดียว
  • ตำลึงต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ตำลึงจะ สังเคราะห์แสงแดดคายไอน้ำได้เต็มที่ ควรปล่อยให้มดแดงขึ้น เพราะจะช่วยกิน เพลี้ยและแมลงที่จะมากัดกินตำลึง

การขยายพันธุ์ : เมล็ดผักตำลึง ใช้เมล็ดจากผลแก่ หยอดลงในหลุม เมื่อต้นกล้างอก หาไม้ปักเป็นหลัก เพื่อให้ตำลึงเลื่อย ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย นอกจากนั้นสามารถนำเถาแก่ปักชำ โดยตัดเถาแก่ขนาด 5-6 นิ้ว ปักในถุงเพาะชำ เมื่อรากและยอดงอก ก็ย้ายไปปลูกในหลุม

การปลูก : พรวนดินให้ร่วนซุยผสมกับปุ๋ยคอก ขุดหลุมและหยอดเมล็ดในหลุม เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกหาไม้มาทำเป็นหลักให้ลำต้นเลื้อยพันบนหลัก ไม้ที่ทำเป็นหลักอาจจะปักพิงกับรั้วทะแยงทำมุม 45 – 60 องศา ในระยะแรกพยายามจัดให้ต้นพันไปที่หลักอย่าให้เลื้อยไปตามผิวดิน หมั่นรดน้ำเช้า – เย็น และให้ปุ๋ย  2 – 3 สัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง เมื่อตำลึงทอดยอดยาว หมั่นเด็ดยอดมารับประทาน จะทำให้เกิดยอดใหม่ขึ้นมาแทน

การปรุงอาหารของผักตำลึง
ยอดอ่อนและใบอ่อนของตำลึงนำไปลวกและนึ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและนำไปปรุงอาหารเป็นแกงเลียง แกงจืด ผัก บางท้องถิ่นชาวบ้านนำผลอ่อนของตำลึงไปดองและนำไปรับประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงได้ ยอดอ่อนของตำลึงเป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทาน มีจำหน่ายในตลาดสดทุกภาคของเมืองไทย

สรรพคุณทางยาและวิธีใช้ตำลึง

  • รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
  • ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
  • ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)
  • แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น
  • แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
  • ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
  • ตำลึงยังมีประโยชน์ ดังนี้ คือ ใบ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง,ต้น,ใบ,ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง
    ใช้เป็นรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กแล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย   ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ตำลึงผักสวนครัวรั้วกินได้

ฝากกดติดตาม/หรือกดถูกใจเพจ Facebook สองพี่น้องอินทรีย์ฟาร์ม ของเราด้วยนะคะ